|
Thailand Institute of Scientific and Technological Research (TISTR)
Petroleum Authority of Thailand (PTT)
Green Spot (Thailand) Co., Ltd.
SVI Public Company Limited
-
Quality Hitech Co., Ltd.
Mungmai Chromium Co., Ltd.
Eishin Techno Co., Ltd.
CF Farm Co., Ltd.
B-Food Product International Co., Ltd.
DAIWA Kasei (Thailand) Co., Ltd.
Techno Resin Co., Ltd.
Thai Kuraboo Co., Ltd.
T.C.K Interplas Co., Ltd.
Propet (Thailand) Co., Ltd.
PTS Progressive Engineering Co., Ltd.
Cosmoprogress International Co., Ltd.
PVT Food Industries Co., Ltd.
Skill Development Co., Ltd.
Kettong Good Line Co., Ltd.
Fuktien Mecgo Pure Water Co., Ltd.
Techno Water Co., Ltd.
Freshly Drinking Water Co., Ltd.
V & P Siam Water Products Co., Ltd. (Spring Drinking Water)
Family Care Limited of Lao
ICE Factory & Drinking Water of Cambodia
Mint Speed Sdn Bhd of Malaysia
And More
|
|
|
|
บทความอ้างอิงจากอาจารย์แสวง กลิ่นปทุม
การใช้ประโยชน์จากเมมเบรน
ในปัจจุบันมีการพัฒนาวัสดุที่ใช้ทำเมมเบรนกันมากขึ้น และพัฒนาเทคโนโลยีการขึ้นรูปเมมเบรนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กอร์ปกับการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีอุตสา-หกรรมในด้านต่าง ๆ มีมากขึ้น ทำให้มีการนำเมมเบรนไปใช้ในหลายลักษณะ ทั้งในชีวิตประจำวัน กระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม หรือแม้แต่ทางการแพทย์ แต่ส่วนใหญ่เมมเบรนได้ถูกนำไปใช้ในการแยกสารออกจากของผสม ทั้งที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ก่อนที่จะกล่าวถึงการใช้ประโยชน์จากเมมเบรน จะขอกล่าวถึงชนิด ลักษณะ กลไกการทำงานเบื้องต้น และคุณสมบัติบางประการของเมมเบรน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเลือกใช้เมมเบรนแต่ละชนิดให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานประเภทของเมมเบรน ประเภทของเมมเบรนสามารถแบ่งได้ในหลายลักษณะ ตามความเหมาะสมกับการใช้งานดังนี้
1. แบ่งตามแหล่งที่มาของเมมเบรน อาจแบ่งได้ 2ประเภทคือ
- เมมเบรนจากธรรมชาติ (Natural Membranes)
- เมมเบรนที่สังเคราะห์ได้ (Synthetic Membranes)
2. แบ่งตามลักษณะโครงสร้างเมมเบรน อาจแบ่งได้เป็น 2ชนิดคือ
- ISOTROPIC MEMBRANES เป็นเมมเบรนที่มีส่วนประกอบและโครงสร้างสม่ำเสมอตลอดความหนาของเมมเบรน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
- Microporous Membrane เป็นเมมเบรนที่มีโครงสร้างเป็นรูพรุน ใช้การคัดแยกมวลสารโดยใช้ขนาดของรูพรุนและขนาดของมวลสารเป็นเกณฑ์
- Nonporous Membrane/Dense Membrane เป็นเมมเบรนที่ไม่มีรูพรุน (เมื่อพจิารณาในระดับการวัดขนาดพื้นฐานของหน่วยความยาวปกติ) มวลสารที่ผ่านเมมเบรนประเภทนี้ใช้หลักการแพร่ผ่าน โดยใช้แรงขับเคลื่อนในรูปของความแตกต่างของความดัน ความเข้มข้น หรือความแตกต่างทางศักยเคมี (Chemical pataincait) หรือความแตกต่างทางศักย์ไฟฟ้า อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างประกอบกัน
- Electrically charged memtrane / Ion – exchange membrane เมมเบรนประเภทนี้จะเป็นแบบมีรูพรุน หรือไม่มีรูพรุนก็ได้ แต่โดยทั่วไปจะมีรูพรุนขนาดเล็กมาก โดยผนังรูพรุนหรือสายโซโพลิเมอร์จะต้องมีสารที่มีประจุ (Charge functional group) ติดอยู่ ซึ่งจะมีทั้งแบบที่เป็นประจุบวกและแบบประจุลบ เป็น Anion exchange membrane และ Cation exchange membrane ตามลำดับ แรงขับดันให้สารผ่านเมมเบรนประเภทนี้จะใช้ความแตกต่างของความเข้มข้นของมวลสารหรือความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้า
- ANISOTROPIC MEMBRANES / ASYMAMETIC MEMBRANE เป็นเมมเบรนที่มีลักษณะโครงสร้างแตกต่างกันตามชั้นความหนาของเมมเบรน
ซึ่งในเนื้อเมมเบรนอาจเป็นทั้งเมมเบรนแบบเนื้อแน่น (Nonporous membrane) และเมมเบรนแบบมีรูพรุนอยู่ในแต่ละชั้นความหนาของเมมเบรน
3. แบ่งตามวัสดุที่ใช้ทำเมมเบรนได้ 4 ประเภทดังนี้
- Polymeric membrane เมมเบรนที่ทำจากสารประกอบโพลีเมอร์ได้แก่ PE, PP, PVDF, PSO, ฯลฯ
- Ceramic membrane
- Metalic membrane
- Liquid membrane
- แบ่งตามลักษณะการขึ้นรูปเมมเบรนได้ 3 ประเภทดังนี้
- เมมเบรนที่ขึ้นรูปเป็นแบบแผ่นบาง ซึ่งสามารถนำมาประกอบเป็นโมดุลแบบแผ่นม้วน (Spiral wound)
- ท่อทรงกระบอก (Tubular)
- ท่อเส้นใย (Capillary tube / Hollow – Fiber หรือ Hollow Fine Fiber)
- แบ่งตามลักษณะการคัดกรอง ซึ่งแบ่งได้ 5 ชนิดดังนี้
- ไมโครพิลเตชั่นเมมเบรน (Microfiltration, MF)
- อัลตราฟิลเตชั่นเมมเบรน (Ultrafiltration, UF)
- นาโนฟิลเตชั่นเมมเบรน (Nanofiltration, NF)
- รีเวอร์สออสโมซีสเมมเบรน (Reverse Osmosis, RO)
- อิเลคโทรไดอะไรซีส (Electro Dialysis, ED)
|
|
|